วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันพืชมงคล

        
                           วันพืชมงคล


  วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6 วันพืชมงคล ประวัติ วันพืชมงคล ภาษาอังกฤษ คำทำนาย วันพืชมงคล พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ ความสำคัญ วันพืชมงคล เทพี วันพืชมงคล

วันพืชมงคล 2559 วันพืชมงคล 9 พฤษภาคม 2559

วันพืชมงคล วันพืชมงคล 2557
วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6
วันพืชมงคล ปี 2558 นี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2559
วันพืชมงคล
วันพืชมงคล : The Royal Ploughing Ceremony
วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6 (แล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤกษ์)
ประวัติวันพืชมงคล
วันพืชมงคล พระราชพิธิพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีกรรม 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ
  1. พิธีพืชมงคล
  2. พิธีแรกนาขวัญ
พิธี วันพืชมงคล แรกนาขวัญ เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ้าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงาม

พิธีแรกนาขวัญ
 วันพืชมงคล 
วันพืชมงคล : เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหวานเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6 วันพืชมงคล
พิธีแรกนาขวัญ วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6 วันพืชมงคล
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงพระราชพิธีแรกนาขวัญไว้ดังนี้
การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมโบราณ เช่น ในเมืองจีนเมื่อสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงไถนาเองเป็นคราวแรก ส่วนจดหมาย ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่ปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอ ด้วยการนี้ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญจะได้เลี้ยงชีวิตทั่วหน้า
การแรกนาขวัญในกรุงเทพ นี้ มีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลไม่ได้ยกเว้น แต่ถือเป็นตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพคู่กับยืนชิงช้า เจ้าพระยาพลเทพแรกนายืนชิงช้าผู้เดียว ไม่ได้ผลัดเปลี่ยน ครั้นต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าพระยาเทพพลป่วย ก็โปรดให้พระยาประชาชีพแทนบ้าง ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกือบตกเป็นธรรมเนียมว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย
ครั้นมาในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่าและที่เพชรบุรี และทรงเพิ่มพิธีสงฆ์นอกเหนือจากเมื่อก่อน มีเฉพาะพิธี เมื่อทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ในพระราชพิธีต่าง ๆ จึงได้เพิ่มในจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ด้วย แต่ยกเป็นพิธีหนึ่งตากหากเรียกว่าพืชมงคล พราหมณ์ และทรงสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฏร์ เมื่อโปรดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลขึ้น จึงได้มีนางเทพีสี่คน จัดเจ้าจอมเถ้าแก่ที่มีทุนรอนพาหนะพอจะแต่งตัวและที่เครื่องใช้ไม้สอย ติดตามไปหาบกระเช้าข้าวโปรย เมื่อวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล ก็ให้ฟังสวดพร้อมด้วยพระยาแรกนาและให้มีการราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐ ซึ่งเป็นพระเจ้าเกิดในสมัยรัชกาลนั้นประพรมที่แผ่นดินนำหน้าพระยาที่แรกนา
พระราชพิธีนี้ ในเวลาบ่ายวันที่จะสวดมนต์ก็มรกระบวนการแห่พระพุทธรูป ออกไปจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระราชพิธีจรดพระนังคัล (วันพืชมงคล) เริ่มแต่บ่ายวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล มีกระบวนแห่ๆ พระเทวรูปพระอิศวร 1 พระอุมาภควดี 1 พระนารายณ์ 1 พระมหาวิฆเนศวร 1 พระพลเทพแบกไถ 1 กระบวนแห่ มีธง มีคู่แห่เครื่องสุงกลองชนะ คล้ายกันกับที่แห่พระพุทธรูป เป็นแต่ลดหย่อนลงมาบ้าง ออกจากพระบรมมหาราชวังไปทางบก เข้าโรงพิธีทุ่งสัมป่อยหน้าหลวง เวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีทำการพระราชพิธีเหมือนอย่างพิธีทั้งปวง วันรุ่งขึ้นเวลาตั้งแต่เช้า กระบวนแห่ต่าง ๆ พระยาผู้แรกนา กำหนดเกณฑ์คนเข้ากระบวนแห่ 500 กระบวน เมื่อถึงโรงพระราชพิธีเข้าจุดเทียนบูชาพระพุทธรูป แล้วตั้งจิตอธิษฐานจับผ้า 3 ผืน เมื่อจับได้ผ้าผืนใดก็นุ่งผ้าผืนนั้น นุ่งอย่างบ่าวขุนออกไปแรกนา มีราชบัญฑิตคนหนึ่ง เชิญเต้าเทวบิฐประน้ำพระพุทธมนต์ไปหน้า พราหมณ์เชิญพระพลเทพคนหนึ่งเป่าสังฆ์ 2 คน พระยาจับยามไถ พระมหาราชครูพิธียืนประตักด้านหุ้มแดงไถดะ ไปโดนรี 3 รอบ แล้วไถแปรโดยกว้าง 3 รอบ นางเทพีทั้งสี่จึงหาบกระเช้าข้าวปลูก กระเช้าทอง 2 คน กระเช้าเงิน 2 คน ออกไปให้พระยาโปรยหว่านข้าว และไถกลบอีกสามรอบ หลังจากนั้นปลดพระโคออกกินเลี้ยงของเสี่ยงทาย 7 สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า ถ้าพระโคกินสื่งใดก็จะมีคำทำนาย
คันไถ ที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพืชมงคล
วันพืชมงคล วันพืชมงคล 2557
คันไถ วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6 วันพืชมงคล
วันพืชมงคล : คันไถที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพืชมงคล น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าวตลอดมานั้นสร้างเมื่อปี พ.ศ.2539 โดยกลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นคันไถที่ทำจากไม้สมอ ซึ่งชุดคันไถประกอบด้วย
  1. คันไถ ขนาดความสูงวัดจากพื้นถึงเศียรนาค 2.26 เมตร และความยาวจากเศียรนาคถึงปลายไถ 6.59 เมตร ทาสีแดงชาดตลอดคันไถ ที่หัวคันไถทำเป็นเศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ปลายไถหุ้มผ้าขาวขลิบทองสำหรับมือจับ
  2. แอกเทียมพระโค ยาว 1.55 เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วยรูปครุฑยุดนาคหล่อด้วยทองเหลืองลงลักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายแอกทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ที่ปลายแอกแต่ละด้านมีลูกแอกทั้งสองด้านสำหรับเทียมพระโคพร้อมเชือก กระทาม
  3. ฐานรอง เป็นที่สำหรับตั้งรองรับคันไถพร้อมแอก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งทาด้วยสีแดงชาด มีลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทอง ทั้งด้านหัวไถและปลายไถ
  4. ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาค ทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลาย ลงลักปิดทองประดับด้วยกระจกแวว มีพู่สีขาวประดับด้านบนเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่งเพื่อประดับพระเกียรติ ธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานยาว 41 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร และเสาธงยาว 72 เซนติเมตร
การเสี่ยงทาย วันพืชมงคล
วันพืชมงคล วันพืชมงคล 2557
การเสี่ยงทาย วันพืชมงคล ข้างขึ้น เดือน 6 วันพืชมงคล
วันพืชมงคล : ผ้านุ่งแต่งกาย ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ
  • ถ้าหยิบผ้าได้ 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
  • ถ้าหยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ในวันพืชมงคล
วันพืชมงคล : ของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ
  • ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
  • ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์
  • ถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับ ต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
พระโคแรกนา วันพืชมงคล
Google Doodles วันพืชมงคล
Google Doodles วันพืชมงคล
วันพืชมงคล : พระโคในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะ ของพระอิศวร เปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็งและหมายถึงสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้มีพระโคเพศผู้เข้าร่วมพิธีเสมอมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็ง และ ความอุดมสมบูรณ์
ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานคัดเลือกพระโค เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ จะดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดีรูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก ไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย เขามีลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะ ที่ดี กีบข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม
ความสำคัญของวันพืชมงคล
วันพืชมงคล : การเกษตรกรรมนับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์อย่างมาก เพราะธัญญาหารที่บรรดาเหล่าเกษตรกรปลูกได้ในแต่ละปี ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร ดัดแปลงเป็นอุปโภคต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
วันพืชมงคล : เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อเกี่ยวกับการเพาะปลูก เนื่องจากเห็นความสำคัญของการเมล็ดพืชพันธุ์อันเป็นปัจัจัยสำคัญต่อวิถีการผลิตแบบพึ่งพิงธรรมชาติ นอกเหนือจาการมีแผนดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำฝนที่มีปริมาณเพียงพอ และปัจจัยอื่น ๆ แล้ว หากได้เมล็ดพืชพันธุ์ที่ได้รับการเลือกสรร รวมทั้งเกษตรกรมีขวัญกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในการลงทุนเพาะปลูก ทางราชการหรือผู้ปกครองตนให้การดูแลเอาใจใส่ การเกษตรของประเทศจะพัฒนามากยิ่งขิ้น ด้วยเหตุนี้ ทุกปีทางราชการจึงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้น โดยกำหนดในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
พิธีกรรม วันพืชมงคล ในปัจจุบัน
วันพืชมงคล : พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาขวัญก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุฑูต และประชาชนจำนวนมากมาชมการแรกนาขวัญ
เมื่อเสร็จพิธี ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความเป็นสิริมงคล

 อ้างอิง   http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4471.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น