วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

วันพิพิธภัณฑ์ไทย


วันพิพิธภัณฑ์ไทย




วันพิพิธภัณฑ์ไทย
วันพิพิธภัณฑ์ไทย 


          วันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายนของทุกปี อยากรู้ไหมทำไมประเทศไทยถึงกำหนดให้มี วันพิพิธภัณฑ์ไทย ด้วย ตามมาหาคำตอบกันเลย

          เมื่อพูดถึง "พิพิธภัณฑ์" คนส่วนใหญ่ในบ้านเรามักไม่นิยมเข้าไปสักเท่าไร แต่เวลาไปต่างประเทศน่าแปลกที่ว่า สถานที่ที่เราหรือนักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชมกันเป็นจำนวนมากในแต่ละปี กลับกลายเป็น "พิพิธภัณฑ์ " ทั้ง ๆ ที่ต้องเสียเงินค่าเข้าชมมิใช่ราคาถูก ๆ (อืม...) 

          ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความรู้สึกของคนส่วนมากมักคิดว่า "พิพิธภัณฑ์ไทย" คร่ำครึล้าสมัย เมื่อเข้าไปแล้วไม่โก้เก๋เหมือนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในยุโรปหรืออเมริกา ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ของเราได้พัฒนาไปแล้วไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือเอกชน และยังมีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกชม ยิ่งในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่สอนให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้านอกเหนือไปจากการเรียนการสอนในระบบแล้ว "พิพิธภัณฑ์" นับได้ว่าเป็น "แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต" ที่สำคัญยิ่งในขณะนี้ (ว้าว...) 

          ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17 ทางด้านซีกโลกตะวันตก ได้มีการตื่นตัวในด้านการเก็บรวบรวม และสะสมทรัพย์สมบัติ และมรดกต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่า สิ่งเก่าแก่ ที่หายากและแปลก ๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่ และความมั่งคงของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาตินั้น ๆ ได้มีการรวบรวมหลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ มาประมวลเป็นหลักฐานให้ชีวิตของชนในชาตินั้นได้   

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


          สำหรับในประเทศไทยนั้น ผู้ริเริ่มดำเนินการรวบรวมวัตถุสิ่งต่าง ๆ เป็นคนแรกได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ที่พระที่นั่งราชฤดีเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นที่จัดตั้งแสดงสิ่งสะสมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงรวบรวมไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และต่อมาได้ย้ายมาจัดแสดงที่พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ อันเป็นที่มาของคำว่า "พิพิธภัณฑ์" ในเวลาต่อมา เมื่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้ง "มิวเซียม" ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกขึ้น ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 

          เส้นทางพิพิธภัณฑสถานไทย ที่เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่พิพิธภัณฑสถานประชาชน และพัฒนาต่อไปจากพิพิธภัณฑสถานที่เก็บรักษาสรรพสิ่งทั่วไป ไม่กำหนดประเภทแน่นอน มาเป็นพิพิธภัณฑสถานมากมายหลายประเภท ตามลักษณะของศิลปวิทยาการที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งทางศิลปะวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สังคมวิทยา และสาขาวิชาอื่น ๆ เป็นจำนวนหลายร้อยแห่งทั่วประเทศ และยังได้ยกระดับกิจการพิพิธภัณฑ์ไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล 

          โดยเข้าเป็นสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM ซึ่งให้คำจำกัดความว่า"พิพิธภัณฑ์" ว่ามิใช่เป็นแหล่งเก็บรวบรวม สงวนรักษาศึกษาวิจัย และจัดแสดงเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่พิพิธภัณฑ์ไดัรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักฐานสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมวัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ จากหลักฐานในอดีต สิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยนัยนี้พิพิธภัณฑสถานในประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นแล้วกว่า 200 แห่ง และได้มีการพัฒนารูปแบบกิจการ ให้มีความเป็นสถาบันการศึกษานอกรูปแบบที่สำคัญอีกด้วยด้วย 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

          เหตุนี้รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 19 กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นวันที่คนไทยทั้งชาติได้รับพระราชทานพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2417 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่าน 

          และเพื่อปลูกฝังให้คนไทยรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยในวันพิพิธภัณฑ์ไทย โดยพิพิธภัณฑสถานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันเปิดพิพิธภัณฑสถานให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าไปชมศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อสร้างความรักความเข้าใจ ตลอดจนภูมิใจในความเป็นไทยโดยทั่วกัน 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


อ้างอิง    http://hilight.kapook.com/view/15562


วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

วันไหว้พระจันทร์

วันไหว้พระจันทร์
วันไหว้พระจันทร์

          วันไหว้พระจันทร์ 2559 ตรงกับวันที่ 16 กันยายน 2559 มาศึกษาประวัติวันไหว้พระจันทร์ พร้อมพิธีไหว้พระจันทร์ไปด้วยกันค่ะ

         ค่ำคืนวันที่ 16 กันยายน 2559 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของคนจีน นั่นคือ วันไหว้พระจันทร์ 2559 ซึ่ง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 โดยในบางปี วันไหว้พระจันทร์ จะตรงกับเดือนกันยายน หรือตุลาคม ซึ่งก็คือช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ชาวจีนจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง"  ซี่ง วันไหว้พระจันทร์ เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมานับพันปี 
ความเชื่อเกี่ยวกับ วันไหว้พระจันทร์ 
         วันไหว้พระจันทร์ เป็นวันที่พระจันทร์ส่องแสงงดงามที่สุด และเต็มดวงที่สุด ชาวจีนจึงให้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความสวยงาม เป็นสื่อกลางของการคิดถึงซึ่งกันและกัน เมื่อคนในครอบครัวจากบ้านเกิดไปไกลคิดถึงครอบครัว ก็ให้แหงนมองดวงจันทร์ส่งความรู้สึกที่ดี ส่งความคิดถึงไปสู่ครอบครัวและคนที่รักผ่านดวงจันทร์
         นอกจากนี้ ชาวจีนยังถือว่า วันไหว้พระจันทร์ เป็นวันที่คนในครอบครัวจะได้แสดงความสามัคคีกัน และได้ชมดวงจันทร์พร้อมหน้ากัน ซึ่งชาวจีนได้นิยาม วันไหว้พระจันทร์ ว่า "วันแห่งการอยู่พร้อมหน้าของครอบครัว" 

ประวัติวันไหว้พระจันทร์  

         อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วู แห่งราชวงศ์ฮั่น เป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้
         ขณะที่บางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์ เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฏ ที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ในเดือน 10 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฏ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบ หลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว วันไหว้พระจันทร์ จึงถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้
การไหว้พระจันทร์  
         ก่อนหน้านี้ วันไหว้พระจันทร์ ชาวจีนที่เป็นผู้ชายจะไม่นิยมไหว้พระจันทร์ เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่า พระจันทร์ถือเป็นหยินซึ่งเป็นธาตุของผู้หญิง ผู้ชายถือเป็นหยาง ดังนั้น จึงให้แต่ผู้หญิงเป็นคนไหว้เท่านั้น แต่ปัจจุบันชาวจีนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ก็สามารถไหว้พระจันทร์ได้เช่นกัน
         การไหว้พระจันทร์ จะเริ่มต้นตอนหัวค่ำซึ่งดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า และถึงแม้ปีไหนหรือสถานที่แห่งใดมองไม่เห็นพระจันทร์ แต่การไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ก็จะยังต้องมีการไหว้พระจันทร์ในค่ำคืนนั้นเหมือนเดิม พิธีดำเนินไปจนถึงประมาณ 4-5 ทุ่ม หลังเสร็จพิธีทุกคนในครอบครัวจะตั้งวงแบ่งกันกินขนมไหว้พระจันทร์ โดยขนมต้องนำมาหั่นแบ่งให้เท่ากับจำนวนคนในครอบครัว ห้ามเกินหรือขาด และแต่ละชิ้นต้องมีขนาดที่เท่ากัน ขนมไหว้พระจันทร์จึงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความกลมเกลียวคนในครอบครัว ดังนั้น รูปลักษณะของขนมไหว้พระจันทร์ จะต้องทำเป็นก้อนวงกลมเท่านั้น
          ทั้งนี้แม้วันไหว้พระจันทร์จะเป็นเทศกาลของชาวจีน แต่ปัจจุบันก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ร่วมทำพิธีไหว้พระจันทร์ด้วย เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ ดังนั้นหากปีนี้บ้านไหนมีความตั้งใจจะไหว้ขอพรจากพระจันทร์อยู่ละก็ ต้องเตรียมของไหว้พระจันทร์ต่าง ๆ ให้พร้อม 
ของไหว้พระจันทร์ ใช้อะไรบ้าง ?  

          การไหว้พระจันทร์จะใช้ของไหว้คล้ายกับการไหว้เจ้าทั่วไป คือ

           ธูป เทียน กระถางธูป

           กระดาษเงิน กระดาษทอง

           ดอกไม้สด 1 คู่
          
 น้ำชา 
          
 น้ำบริสุทธิ์

          
 ผลไม้ต่าง ๆ ที่มีชื่อและมีความหมายเป็นสิริมงคล เช่น ทับทิม หมายถึงลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง, แอปเปิล หมายถึงความสงบสุข, องุ่น หมายถึงความเพิ่มพูน, ส้ม หมายถึงความเป็นมงคล, สาลี่ หมายถึง ขอให้มีแต่เรื่องดี ๆ เข้ามาในชีวิต รวมทั้งส้มโอ แต่ไม่ควรใช้ผลไม้ที่มียางหรือมีหนาม

           อาหารเจชนิดแห้ง เช่น เห็ดหอม วุ้นเส้น สาหร่ายทะเล ดอกไม้จีน ฟองเต้าหู้ เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังมีของไหว้ที่สำหรับใช้ในพิธีไหว้พระจันทร์โดยเฉพาะ คือ

           ขนมหวาน เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมเปี๊ยะ สาคูแดง ขนมโก๋สีขาว ควรเลือกที่มีรูปทรงกลมเหมือนพระจันทร์

           โคมไฟ สำหรับจุดไฟเปรียบเหมือนชีวิตที่สว่างไสว

           ของใช้ส่วนตัวของผู้หญิง เช่น ชุดเครื่องแป้ง เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายของผู้หญิง ตลับแป้ง น้ำหอม อันเป็นการสื่อว่ามีเสน่ห์สวยงามเหมือนพระจันทร์ที่เปรียบเป็นเพศหญิง

           อ้อย 1 คู่ สำหรับทำเป็นซุ้ม

          *หมายเหตุ : บางตำราอาจระบุให้จัดของไหว้เป็นผลไม้ 5 ชนิด ขนมหวาน 5 ชนิด อาหารเจ 5 ชนิด แต่ในบางตำราอาจระบุให้ใช้เลข 4 ซึ่งเป็นเลขคู่ โดยจัดของไหว้เป็นผลไม้ 4 ชนิด ขนมหวาน 4 ชนิด อาหารเจ 4 ชนิด ซึ่งก็แล้วแต่ศรัทธา

ไหว้พระจันทร์ใช้ธูปกี่ดอก ? 

          โดยส่วนใหญ่ตำราต่าง ๆ มักแนะนำให้จุดธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอกก็ได้ โดยมีคำแนะนำว่า หากไหว้ด้วยผลไม้ 5 ชนิด ก็ควรใช้ธูป 5 ดอก แต่ถ้าบ้านไหนใช้ธูปพิเศษ เช่น ธูปมังกรก็จุดธูปดอกใหญ่ดอกเดียวได้

พิธีไหว้พระจันทร์ ต้องทำอะไรบ้าง ?  

          ก่อนหน้านี้ ชาวจีนที่เป็นผู้ชายจะไม่นิยมไหว้พระจันทร์ เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่าพระจันทร์ถือเป็นหยินซึ่งเป็นธาตุของผู้หญิง ผู้ชายถือเป็นหยาง ดังนั้นจึงให้แต่ผู้หญิงเป็นคนไหว้เท่านั้น แต่ปัจจุบันชาวจีนทั้งผู้หญิงและผู้ชายก็สามารถไหว้พระจันทร์ได้เช่นกัน แต่มักให้ผู้หญิงเป็นคนไหว้คนแรก ซึ่งในการไหว้พระจันทร์จะต้องทำพิธีดังนี้

          1. ไหว้เจ้าในช่วงเช้า จัดของไหว้เจ้าเหมือนปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมโก๋, ขนมเปี๊ยะต่าง ๆ

          2. ไหว้บรรพบุรุษ จัดของไหว้บรรพบุรุษเหมือนปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมโก๋, ขนมเปี๊ยะต่าง ๆ

          3. ไหว้เจ้าแม่ในตอนค่ำ เมื่อดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า

          สำหรับสถานที่ไหว้พระจันทร์ในตอนค่ำควรเลือกที่กลางแจ้ง อาจเป็นลานบ้าน หน้าบ้าน หรือดาดฟ้าก็ได้ ตั้งโต๊ะทำซุ้มต้นอ้อยให้เสร็จเรียบร้อยในช่วงพระอาทิตย์ตกดินหรือตอนหัวค่ำ ก่อนพระจันทร์จะลอยสูงเกินขอบฟ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก จุดธูปเทียนอธิษฐานขอพรจากพระจันทร์ และควรเก็บโต๊ะก่อนที่พระจันทร์จะเลยศีรษะไป หรือเมื่อเทียนดอกใหญ่ดับลง 

          เมื่อเสร็จสิ้นพิธีควรนำของไหว้มาทาน โดยเฉพาะขนมไหว้พระจันทร์ที่ควรนำมาหั่นแบ่งให้เท่ากับจำนวนคนในครอบครัว และควรแบ่งให้แต่ละชิ้นมีขนาดเท่ากัน เพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนอาหารอื่น ๆ นั้นไม่จำเป็นต้องทานทั้งหมด อาจเก็บไว้บางส่วน หรือนำไปแจกญาติ ๆ ก็ได้
    
          อย่างไรก็ตาม หากบ้านไหนไม่สะดวกไหว้พระจันทร์ทั้ง 3 เวลา ก็สามารถเลือกไหว้พระจันทร์เฉพาะตอนค่ำ หรือหากไม่มีของไหว้ชุดใหญ่ก็สามารถใช้ของไหว้ชุดเล็ก โดยเน้นขนม ผลไม้ รวมทั้งของใช้ส่วนตัวผู้หญิงมาร่วมไหว้ด้วยได้เช่นกัน
    

ขนมไหว้พระจันทร์

ขนมไหว้พระจันทร์ หรือ ของไหว้พระจันทร์ 
         ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake) เป็นของไหว้ที่ขาดไม่ได้ โดยขนมไหว้พระจันทร์จะทำเป็นรูปกลม จะต้องมีไส้หวาน หรือสอดไส้ด้วยธัญพืชที่มีรสหวานเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ขนมไหว้พระจันทร์ มีทั้งไส้หมูแฮม ไส้หมูแดง ไส้หมูหยอง  และไส้ต่าง ๆ ที่มีรสเค็ม รสเปรี้ยว ซึ่งไม่ได้ให้ความหมายใด ๆ มากไปกว่า "ขนม" หรือ "Moon Cake" ที่รับประทานกันเพื่อความอร่อยเท่านั้น ซึ่ง ขนมไหว้พระจันทร์ จะมีการจำหน่ายกันล่วงหน้าก่อนวันไหว้พระจันทร์
         ส่วนผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ส้มโอ แอปเปิล สาลี่ ทับทิม กล้วย ส้ม และผลไม้ท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้ง เครื่องสำอาง แป้ง ก็สามารถนำมาไหว้พระจันทร์ได้

การให้ขนมไหว้พระจันทร์ผู้ใหญ่ หมายถึงอะไร

          ชาวจีนถือว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลสำคัญที่ทุกคนในครอบครัวต้องมาอยู่รวมกันพร้อมหน้าพร้อมตา ดังนั้น หนุ่มสาว หรือคนในครอบครัว จึงมักซื้อขนมไหว้พระจันทร์ไปมอบให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้าน และรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ด้วยกันพร้อมชมพระจันทร์เต็มดวง โดยควรจะตัดแบ่งขนมไหว้พระจันทร์ให้มีจำนวนชิ้นพอดีกับผู้ที่ร่วมรับประทาน

          
ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียว เปรียบเหมือนขนมไหว้พระจันทร์ที่มีลักษณะกลม หมายถึงการได้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาของคนในครอบครัว นอกจากนี้ พระจันทร์ที่มีลักษณะกลม ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสวยงาม เป็นสื่อกลางแสดงถึงความคิดถึง ความรัก และส่งต่อความปรารถนาดีให้กับคนในครอบครัวด้วย


ขนมไหว้พระจันทร์

สถานที่ไหว้พระจันทร์ 
         ชาวจีนบางบ้านอาจจะไหว้พระจันทร์ที่ลานหน้าบ้าน ดาดฟ้า โดยมีการตั้งโต๊ะ ทำซุ้มต้นอ้อย มีธูปเทียน กระดาษเงินกระดาษทองที่พับเป็น เงินตราจีน โคมไฟ และสิ่งของเซ่นไหว้
         วันไหว้พระจันทร์ เป็นอีกวันหนึ่งที่คนในครอบครัวจะได้แสดงออกถึงความสามัคคีกัน ได้อยู่พร้อมหน้ากัน และหากคนที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัวก็สามารถสื่อความรัก ความคิดถึงไปยังครอบครัว และคนที่รักได้ ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งวันที่คนจีนให้ความสำคัญค่ะ


อ้างอิง   http://hilight.kapook.com/view/42102