วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันรัฐธรรมนูญ

                             วันรัฐธรมมนูญ

  

          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

 ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

 ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

           
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

           
 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

           
 อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

           
 รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร 

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

           
 พระมหากษัตริย์ 
           
           
 สภาผู้แทนราษฎร 
           
           
 คณะกรรมการราษฎร 
           
           
 ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 19 ฉบับ
          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ 
           1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

           2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  
           3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
   
           4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
   
           5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

           6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
 
           7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

           8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

           9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
  
           10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

           11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
   
           12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
  
           13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  
           14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
  
           15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
   
           16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  
           17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
   
           18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 กรกฎาคม 2557)
           19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557-ปัจจุบัน)

  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 

           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ 
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 19 ร่างโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตและลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

          สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทั้งสิ้น 48 มาตรา (อ่านเนื้อหา รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทั้ง 48 มาตรา มีอะไรบ้าง มาดูกัน)
รัฐธรรมนูญ
  
 วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี


          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


 กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
            มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 

ภาพจาก parliament.go.th


                           อ้างอิง   http://hilight.kapook.com/view/18208


วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันพ่อเเห่งชาติ


วันพ่อเเห่งชาติ



ภาพจาก Boonsom / Shutterstock.com  

 ภาพจาก  LightMemoryStockPhoto / Shutterstock.com 

          วันพ่อแห่งชาติ 2559 มาอ่านประวัติความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติในประเทศไทยและทั่วโลกกัน

          เราทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าวันที่ 5 ธันวาคม นั้นเป็น  "วันพ่อแห่งชาติ" โดยทางราชการได้กำหนดให้วันพ่อแห่งชาติ เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน
 แต่รู้กันหรือไม่ว่า "วันพ่อแห่งชาติ" ของแต่ละประเทศตรงกับวันไหน และ วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศไทยมีที่มาอย่างไร กระปุกดอทคอม จะพาไปรู้จักเรื่องราวของ "วันพ่อแห่งชาติ" กันค่ะ

ประวัติ วันพ่อแห่งชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ ในทั่วโลก
          วันพ่อแห่งชาติ ถือเป็นวันสำคัญที่ฉลองถึงความเป็นพ่อ และบุคคลที่นับถือเยี่ยงพ่อ โดย จอห์น บี. ดอดด์ ชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ริเริ่มแนวคิด วันพ่อแห่งชาติ โดยงาน วันพ่อแห่งชาติ ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2461 ในโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองแฟร์มอนต์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ก่อนที่แนวคิดวันพ่อแห่งชาติ ของจอห์น บี. ดอดด์ จะถูกเผยแพร่ไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยวันพ่อแห่งชาติของแต่ละประเทศจะกำหนดวัน และจัดงานแตกต่างกันไป เช่น

           วันที่ 19 มีนาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศสเปน โปรตุเกส อิตาลี

           วันที่ 8 พฤษภาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศเกาหลีใต้

           วันที่ 5 มิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศเดนมาร์ก

           วันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่น อาร์เจนตินา ไอร์แลนด์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร

           วันที่ 23 มิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศโปแลนด์

           วันอาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศบราซิล

           วันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

           วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์

           วันที่ 5 ธันวาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศไทย

ภาพจาก Coffee Lover / Shutterstock.com 

วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย
        สำหรับวันพ่อแห่งชาติของประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 และยังได้มีการกำหนดให้ดอกพุทธรักษา เป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

          ทั้งนี้ นอกจากวันที่ 5 ธันวาคม จะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" แล้ว ยังถือว่าวันนี้เป็น "วันชาติของไทย" อีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยมีการกำหนดวันชาติให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายน เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ 

          ซึ่ง "วันชาติ" ของไทยนั้นอยู่มานานถึง 21 ปี จนวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยเหตุที่เปลี่ยนเพราะมีข้อไม่เหมาะสมหลายประการ คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน 

          จึงควรถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย ดังนั้นนับแต่ปี 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันชาติ" ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา   

 

ภาพจาก ARZTSAMUI / Shutterstock.com 

ที่มาของ วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย

          วันพ่อแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มจัดงานวันพ่อแห่งชาติ เนื่องจาก "พ่อ" คือผู้ที่ควรได้รับการเทิดทูน และยกย่อง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา และทรงทะนุบำรุงพระราชโอรส และพระราชธิดาด้วยความรัก ทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเพื่อให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท

           นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้พสกนิกรถ้วนหน้า จึงถือเป็น "พ่อแห่งชาติ" ของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท 
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันพ่อแห่งชาติ
         วัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันพ่อแห่งชาติ คือ 
          1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

          2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

          3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

          4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

          5. เพื่อประกาศเกียรติคุณให้กับพ่อ และลูกที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี สมควรแก่การยกย่องของสังคม

          6. เพื่อรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ต่อไป


ภาพจาก Boonsom / Shutterstock.com 
กิจกรรม 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ
          กิจกรรมที่นิยมปฏิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันพ่อแห่งชาติ ได้แก่ การประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน, การจัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล, การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และที่ขาดไม่ได้สำหรับกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ คือการมอบรางวัลพ่อตัวอย่างหรือพ่อดีเด่น เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม อีกทั้งยังเพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 

          และในวันพ่อแห่งชาติที่จะมาถึงนี้ ลูก ๆ ทั้งหลายก็อย่าลืมแสดงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อพ่อ แม้ว่าจริง ๆ แล้วการแสดงความรักและความกตัญญูต่อพ่อสามารถแสดงได้ทุกวัน ไม่ใช่แค่วันพ่อแห่งชาติ เพียงวันเดียว 


อ้างอิง

ภาพจาก Boonsom / Shutterstock.com  

 ภาพจาก  LightMemoryStockPhoto / Shutterstock.com 

          วันพ่อแห่งชาติ 2559 มาอ่านประวัติความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติในประเทศไทยและทั่วโลกกัน

          เราทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าวันที่ 5 ธันวาคม นั้นเป็น  "วันพ่อแห่งชาติ" โดยทางราชการได้กำหนดให้วันพ่อแห่งชาติ เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน
 แต่รู้กันหรือไม่ว่า "วันพ่อแห่งชาติ" ของแต่ละประเทศตรงกับวันไหน และ วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศไทยมีที่มาอย่างไร กระปุกดอทคอม จะพาไปรู้จักเรื่องราวของ "วันพ่อแห่งชาติ" กันค่ะ

ประวัติ วันพ่อแห่งชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ ในทั่วโลก
          วันพ่อแห่งชาติ ถือเป็นวันสำคัญที่ฉลองถึงความเป็นพ่อ และบุคคลที่นับถือเยี่ยงพ่อ โดย จอห์น บี. ดอดด์ ชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ริเริ่มแนวคิด วันพ่อแห่งชาติ โดยงาน วันพ่อแห่งชาติ ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2461 ในโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองแฟร์มอนต์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ก่อนที่แนวคิดวันพ่อแห่งชาติ ของจอห์น บี. ดอดด์ จะถูกเผยแพร่ไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยวันพ่อแห่งชาติของแต่ละประเทศจะกำหนดวัน และจัดงานแตกต่างกันไป เช่น

           วันที่ 19 มีนาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศสเปน โปรตุเกส อิตาลี

           วันที่ 8 พฤษภาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศเกาหลีใต้

           วันที่ 5 มิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศเดนมาร์ก

           วันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่น อาร์เจนตินา ไอร์แลนด์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร

           วันที่ 23 มิถุนายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศโปแลนด์

           วันอาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศบราซิล

           วันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

           วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์

           วันที่ 5 ธันวาคม เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของประเทศไทย

ภาพจาก Coffee Lover / Shutterstock.com 

วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย
        สำหรับวันพ่อแห่งชาติของประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 และยังได้มีการกำหนดให้ดอกพุทธรักษา เป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

          ทั้งนี้ นอกจากวันที่ 5 ธันวาคม จะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" แล้ว ยังถือว่าวันนี้เป็น "วันชาติของไทย" อีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยมีการกำหนดวันชาติให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายน เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ 

          ซึ่ง "วันชาติ" ของไทยนั้นอยู่มานานถึง 21 ปี จนวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยเหตุที่เปลี่ยนเพราะมีข้อไม่เหมาะสมหลายประการ คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน 

          จึงควรถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย ดังนั้นนับแต่ปี 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันชาติ" ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา   

 
 
ภาพจาก ARZTSAMUI / Shutterstock.com 

ที่มาของ วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย

          วันพ่อแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มจัดงานวันพ่อแห่งชาติ เนื่องจาก "พ่อ" คือผู้ที่ควรได้รับการเทิดทูน และยกย่อง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา และทรงทะนุบำรุงพระราชโอรส และพระราชธิดาด้วยความรัก ทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเพื่อให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท

           นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้พสกนิกรถ้วนหน้า จึงถือเป็น "พ่อแห่งชาติ" ของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท 
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันพ่อแห่งชาติ
         วัตถุประสงค์ของการจัดงาน วันพ่อแห่งชาติ คือ 
          1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

          2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

          3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

          4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

          5. เพื่อประกาศเกียรติคุณให้กับพ่อ และลูกที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี สมควรแก่การยกย่องของสังคม

          6. เพื่อรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ต่อไป


ภาพจาก Boonsom / Shutterstock.com 
กิจกรรม 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ
          กิจกรรมที่นิยมปฏิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันพ่อแห่งชาติ ได้แก่ การประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน, การจัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล, การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และที่ขาดไม่ได้สำหรับกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ คือการมอบรางวัลพ่อตัวอย่างหรือพ่อดีเด่น เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม อีกทั้งยังเพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 

          และในวันพ่อแห่งชาติที่จะมาถึงนี้ ลูก ๆ ทั้งหลายก็อย่าลืมแสดงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อพ่อ แม้ว่าจริง ๆ แล้วการแสดงความรักและความกตัญญูต่อพ่อสามารถแสดงได้ทุกวัน ไม่ใช่แค่วันพ่อแห่งชาติ เพียงวันเดียว 


อ้างอิง    http://hilight.kapook.com/view/18055